แบบประเมิน

แบบประเมิน

เนื้อหาเกี่ยวกับ: ประเภทของสารอาหาร ประโยชน์และโทษของสาราหาร วิธีการกินอาหาร อาหารสำหรับวัยต่างๆ และบทความที่นำมาเพื่อการศึกษาหาความรู้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประเภทของสารอาหาร ประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารต่างๆ

1. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์
ประเมินให้ 4

2. การออกแบบ
ประเมินให้ 5

3. ความเรียบง่าย
ประเมินให้ 5

4. ความน่าสนใจ
ประเมินให้ 4

5. ความทันสมัย
ประเมินให้ 4


สรุปคะแนน 22 คะแนน เต็ม 25 คะแนน

"อาหาร 10 อย่าง" ที่ไม่ควรกินมากเกิน !?

"อาหาร 10 อย่าง" ที่ไม่ควรกินมากเกิน !?



เป็นเคล็ดลับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ได้แก่

1. ไข่เยี่ยวม้า ถ้ากินมากและบ่อย อาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว..การดูดซึมแคลเซี่ยม ลด น้อยลง ขาดแคลเซี่ยม ทำให้กระดูกผุได้



2. ปาท่องโก๋ ใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่ว เป็นพิษต่อเซลล์สมอง ความจำเสื่อม คอ แห้ง เจ็บคอ



3. เนื้อสัตว์ย่าง เกิดสารเบนโซไพริน ก่อมะเร็ง



4. ผักดอง เกิดการสะสมเกลือโซเดียม หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูงเป็นโรคหัวใจง่าย



5. ตับหมู 1 กก. มีคอเลสเตอรอลกว่า 400 มก. ถ้ามีมากและนานทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เสี่ยงต่อโรคหัวใจ , หลอดเลือดทางสมอง, มะเร็ง



6. ผักโขม ผักปวยเล้ง มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้การขับสังกะสีและแคลเซียมออก จากร่างกายมาก เกิดภาวะขาดแคลน



7. บะหมี่สำเร็จรูป ทำให้ขาดสารอาหาร เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย



8. เมล็ดทานตะวัน มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว กินมากทำให้มีการสะสม ไขมันที่ตับได้



9. เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ การหมักมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรค...และมีสารย่อย โปรตีนไฮโดรเจนซัลไฟล์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 1



0. ผงชูรส ไม่ควรกินเกิน 6 กรัมต่อวัน จะทำให้กรดกลูตามิกในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของประจุแคลเซี่ยมและแมกนีเซียม ทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์ที่กล่าวมาเป็นภูมิปัญญาโบราณ ความเชื่อที่สืบทอดกันมา ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบาย











ที่มา :
http://variety.teenee.com/foodforbrain/17219.html

รู้จักกีวี...สุดยอดพลังสารอาหาร

รู้จักกีวี...สุดยอดพลังสารอาหาร


ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่โชคดี เพราะมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการปลูกผลไม้หลายๆชนิด ทำให้คนไทยเรามีผลไม้กินไม่ขาดสายตลอดทั้งปี แล้วแต่ใครจะเลือกตามความชอบของตัวเอง ถ้าใครกินผลไม้้ได้ทุกประเภทก้คงไม่มีปัญหา เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้รับวิตามินครบถ้วน แต่สำหรับใครที่ค่อนข้างจะเลือกรับประทาน อาจต้องคิดหนักหน่อยว่าจะเลือกซื้อผลไม้ชนิดใด อย่างไร เพื่อให้คุ้มค่ากับราคา และได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ??ข้อแนะนำง่ายๆ คือเลือกผลไม้ที่มีคุณค่าสารอาหารสูง และคำนึงถึงปริมาณวิตามินที่ร่างกายจะได้รับ ซึ่งหนึ่งในบรรดาผลไม้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด ในปริมาณแคลอรีต่ำที่สุด คือ ?กีวี? แหล่งวิตามินซีในปริมาณสูงสุดนอกจากกีวีสีเขียวที่เราคุ้นเคย ยังมีกีวีโกลด์ หรือกีวีสีทองให้เลือกบริโภค กีวีทั้งสองชนิดมีปริมาณวิตามินซีสูงสุดหากเทียบกับผลไม้ขึ้นชื่อเรื่อง

วิตามินซี อาทิ ส้ม หรือมะละกอ จากการวิจัยพบว่ากีวี หนึ่งผลมีวิตามินซีมากกว่าส้มหนึ่งลูกถึง 74% การรับประทานกีวีสองผลต่อวันจะช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินซีในร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นเกราะธรรมชาติที่ช่วยป้องกันไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ และซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอและกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ อุดมด้วยโฟเลต สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โฟเลตมีบทบาทสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กทารกและคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการเซลล์ใหม่เป็นจำนวนมาก การรับประทานโฟเลตเป็นประจำทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ ยังช่วยทำให้ผิวและเซลล์เม็ดเลือดมีสุขภาพดี กีวีมีปริมาณโฟเลตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับกล้วย มะม่วง สัปปะรด และแอปเปิ้ล โดยมากกว่ากล้วย 49% และมากกว่ามะม่วงถึง 112.8% สุดยอดคุณค่าวิตามินอีวิตามินอีได้รับการขนานนามว่าช่วยชะลอความแก่ชรา ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ คุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของวิตามินอี นอกจากจะช่วยป้องกันเซลล์จากการเสื่อมสภาพแล้ว ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยในการไหลเวียนของเลือดอีกด้วย จากการวิจัยพบว่ากีวีมีปริมาณวิตามินอีสูงสุด โดยเฉพาะกีวีทอง ซึ่งมีวิตามินอีมากกว่ามะม่วงถึงหนึ่งเท่า เต็มที่ด้วยพลังไฟเบอร์ ไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานในร่างกาย แต่เข้าไปยึดพื้นที่ในระบบทางเดินอาหารทำให้อิ่มได้เร็วและนาน นอกจากนี้ ยังช่วยชำระล้างและปรับปรุงระบบย่อยอาหาร รวมถึงส่งเสริมให้หัวใจและร่างกายแข็งแรง กีวีเขียวหนึ่งผลมีปริมาณไฟเบอร์มากกว่ากล้วย 15% และมากกว่าแอปเปิ้ลและส้มถึง 25%












อย.เตือนกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป เสี่ยงขาดสารอาหาร







นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ในปัจจุบันอาหาร กึ่ง-สำเร็จรูป ซึ่งได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก ก๋วยจั๊บ หรือซุปต่างๆ มักเป็นอาหารยอดนิยมของหลายๆ คน เพราะราคาถูกและสะดวกต่อการบริโภคแต่การรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากส่วนประกอบหลักจะเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นได้โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์และผัก รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นเมื่อปรุงอาหารประเภทนี้ ควรใส่อาหารชนิดอื่น ๆ ลงไปด้วย เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ หรือไข่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกหมู่เพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้ อาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จส่วนใหญ่มีโซเดียมจากเกลือและผงชูรสในเครื่องปรุงประมาณ 5-6% ซึ่งเมื่อบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพียง 1 ซอง อาจจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงถึง 50-100% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะมีผลต่อระบบการทำงานของไต หรือคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วก็จะเกิดปัญหาการคั่งของโซเดียมอยู่ในร่างกายทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูงได้ และควรปรุงให้สุกก่อนการรับประทาน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้องได้ รองเลขาธิการ ฯ กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูปในภาชนะบรรจุที่มีสภาพสมบูรณ์ เรียบร้อย ไม่ควรซื้อที่มีรอยรั่วหรือฉีกขาด ลักษณะอาหารที่อยู่ภายในต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน โดยเฉพาะเครื่องปรุงต้องไม่ชื้นเกาะเป็นก้อน และที่สำคัญผู้บริโภคควรซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ โดยสังเกตที่ฉลากต้องมีเครื่องหมาย อย. พร้อมเลขสารบบอาหาร 13 หลัก วันเดือนปีผลิตหรือวันหมดอายุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และหากมีการแสดงฉลากโภชนาการ ผู้บริโภคควรอ่านข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบสารอาหารของสินค้าต่างยี่ห้อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่า เหมาะสมกับราคา และมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย







ที่มา : http://www.ifcza.com/thread-1408-1-1.html

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ

หลักการออกแบบและพัฒนาการนำเสนองานผ่านเว็บ



การสร้างเว็บไซท์ นอกเหนือจากการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อออกแบบ สร้างภาพกราฟิกสำหรับตกแต่ง และใช้โปรแกรมสร้างเว็บไซท์อย่าง Dreamweaver เพื่อจัดหน้าเว็บเพจ แต่ความจริงแล้วงานดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาเว็บไซท์ทั้งหมดเท่านั้น เพราะหากคุณต้องการเว็บไซท์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จ ก็จำเป็นจะต้องมีการเตรียมการที่ดี ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการประเภทอื่นโดยทั่วไปการสร้างเว็บไซท์ที่มีคุณภาพมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่มากมาย ซึ่งเราจะต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจก่อนที่จะถึงขั้นลงมือทำจริง ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของเว็บไซท์คืออะไร ใครเป็นกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ทีมงานมีใครบ้างและแต่ละคนเชี่ยวชาญในเรื่องใดขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซท์กระบวนการพัฒนาเว็บไซท์แบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งตำราแต่ละแหล่งมักให้ข้อมูลไม่ตรงกัน ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงขอรวบรวมและสรุปออกมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซท์ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกล่าง



กำหนดเป้าหมายและวางแผน (Site Definition and Planning)ในการพัฒนาเว็บไซท์เราควรกำหนดเป้าหมาย และวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การทำงานในขั้นต่อ ๆ ไปมีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลัก ๆ ที่เราควรทำในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย


1. กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าเว็บไซท์นี้ต้องการนำเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร


2. กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร และออกแบบเว็บไซท์ให้ตอบสนองความต้องการหรือโดยใจผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเนื้อหา โทนสี กราฟิก เทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน และอื่น ๆ


3. เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลคือสาระสำคัญที่แท้จริงของเว็บไซท์ เราต้องรู้ว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้จะมาจากแหล่งใดได้บ้าง


4. เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสร้างเว็บไซท์ต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้าน เช่นในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น


5. เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับ สร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดีย โปรแกรมยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ต้องใช้ การจดทะเบียนโดเมนเนม ตลอดจนการเตรียมหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซท์และเลือกแผนบริการที่เหมาะสม








ที่มา : http://gotoknow.org/blog/oodapichai/207394


การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ

การวิเคราะห์และประเมินผลงานสื่อนำเสนอแบบต่างๆ




1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา


2. มีความคงตัว (consistent): เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน


3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว


4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่


5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย


6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง


7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา


8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้9. ความคมชัด (resolution) ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น


10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3









ที่มา : http://supanida-opal.blogspot.com/2008/06/blog-post_672.html