วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประเภทของสารอาหาร ประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารต่างๆ
1. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์
2. การออกแบบ
3. ความเรียบง่าย
4. ความน่าสนใจ
5. ความทันสมัย
สรุปคะแนน 22 คะแนน เต็ม 25 คะแนน
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ในปัจจุบันอาหาร กึ่ง-สำเร็จรูป ซึ่งได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป โจ๊ก ก๋วยจั๊บ หรือซุปต่างๆ มักเป็นอาหารยอดนิยมของหลายๆ คน เพราะราคาถูกและสะดวกต่อการบริโภคแต่การรับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากส่วนประกอบหลักจะเป็นพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นได้โดยเฉพาะโปรตีนจากเนื้อสัตว์และผัก รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นเมื่อปรุงอาหารประเภทนี้ ควรใส่อาหารชนิดอื่น ๆ ลงไปด้วย เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ หรือไข่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกหมู่เพียงพอกับความต้องการ นอกจากนี้ อาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จส่วนใหญ่มีโซเดียมจากเกลือและผงชูรสในเครื่องปรุงประมาณ 5-6% ซึ่งเมื่อบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพียง 1 ซอง อาจจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงถึง 50-100% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะมีผลต่อระบบการทำงานของไต หรือคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้วก็จะเกิดปัญหาการคั่งของโซเดียมอยู่ในร่างกายทำให้เกิดปัญหาความดันโลหิตสูงได้ และควรปรุงให้สุกก่อนการรับประทาน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้องได้ รองเลขาธิการ ฯ กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูปในภาชนะบรรจุที่มีสภาพสมบูรณ์ เรียบร้อย ไม่ควรซื้อที่มีรอยรั่วหรือฉีกขาด ลักษณะอาหารที่อยู่ภายในต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน โดยเฉพาะเครื่องปรุงต้องไม่ชื้นเกาะเป็นก้อน และที่สำคัญผู้บริโภคควรซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ โดยสังเกตที่ฉลากต้องมีเครื่องหมาย อย. พร้อมเลขสารบบอาหาร 13 หลัก วันเดือนปีผลิตหรือวันหมดอายุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และหากมีการแสดงฉลากโภชนาการ ผู้บริโภคควรอ่านข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบสารอาหารของสินค้าต่างยี่ห้อ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่า เหมาะสมกับราคา และมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
การสร้างเว็บไซท์ นอกเหนือจากการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อออกแบบ สร้างภาพกราฟิกสำหรับตกแต่ง และใช้โปรแกรมสร้างเว็บไซท์อย่าง Dreamweaver เพื่อจัดหน้าเว็บเพจ แต่ความจริงแล้วงานดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาเว็บไซท์ทั้งหมดเท่านั้น เพราะหากคุณต้องการเว็บไซท์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จ ก็จำเป็นจะต้องมีการเตรียมการที่ดี ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ตลอดจนพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการประเภทอื่นโดยทั่วไปการสร้างเว็บไซท์ที่มีคุณภาพมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอยู่มากมาย ซึ่งเราจะต้องหาข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจก่อนที่จะถึงขั้นลงมือทำจริง ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของเว็บไซท์คืออะไร ใครเป็นกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ทีมงานมีใครบ้างและแต่ละคนเชี่ยวชาญในเรื่องใดขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซท์กระบวนการพัฒนาเว็บไซท์แบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งตำราแต่ละแหล่งมักให้ข้อมูลไม่ตรงกัน ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จึงขอรวบรวมและสรุปออกมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซท์ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกล่าง
กำหนดเป้าหมายและวางแผน (Site Definition and Planning)ในการพัฒนาเว็บไซท์เราควรกำหนดเป้าหมาย และวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การทำงานในขั้นต่อ ๆ ไปมีแนวทางที่ชัดเจน เรื่องหลัก ๆ ที่เราควรทำในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าเว็บไซท์นี้ต้องการนำเสนอหรือต้องการให้เกิดผลอะไร
2. กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อจะได้รู้ว่าผู้ชมหลักของเราคือใคร และออกแบบเว็บไซท์ให้ตอบสนองความต้องการหรือโดยใจผู้ชมกลุ่มนั้นให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเนื้อหา โทนสี กราฟิก เทคโนโลยีที่นำมาสนับสนุน และอื่น ๆ
3. เตรียมแหล่งข้อมูล เนื้อหาหรือข้อมูลคือสาระสำคัญที่แท้จริงของเว็บไซท์ เราต้องรู้ว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้จะมาจากแหล่งใดได้บ้าง
4. เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสร้างเว็บไซท์ต้องอาศัยทักษะหลาย ๆ ด้าน เช่นในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟิก เขียนโปรแกรม และการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น
5. เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับ สร้างเว็บไซท์โปรแกรมสำหรับสร้างกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดีย โปรแกรมยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ต้องใช้ การจดทะเบียนโดเมนเนม ตลอดจนการเตรียมหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซท์และเลือกแผนบริการที่เหมาะสม
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/oodapichai/207394
1. ความเรียบง่าย: จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการอ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลังตามลักษณะเนื้อหา
2. มีความคงตัว (consistent): เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์ ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่นที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือขนาดและแบบตัวอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญ หรือเป็นเนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรในสไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้าง หรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้แตกต่างจากเนื้อหาสักเล็กน้อยก็อาจทำได้เช่นกัน
3. ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน (formal balance) หรือสมดุลไม่มีแบบแผน (informal balance) ก็ได้ แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความสมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว
4. มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความ และภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละแนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือเนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่
5. สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา ใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกภาพกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหา รวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย
6. แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา (bold) หรือตัวเอน (italic) แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เห็นความแตกต่าง
7. เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของเนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และไม่ควรมีจุดนำข้อความมากกว่า 4 จุดในสไลด์แผ่นหนึ่ง โดยสามารถใช้ต้นแบบสไลด์ที่มีจุดนำข้อความใน Auto Layout เพื่อเพิ่มจุดนำข้อความให้ปรากฏขึ้นหน้าข้อความแต่ละครั้งเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับฟังการนำเสนอ อาจจะใช้การจางข้อความ (dim body text) ในข้อความที่บรรยายไปแล้วเพื่อให้มีเฉพาะจุดนำข้อความ และเนื้อหาที่กำลังนำเสนอเท่านั้นปรากฏแก่สายตา
8. เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกที่เหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่หากใช้กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผิดไปได้9. ความคมชัด (resolution) ของภาพ: เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB ซึ่งท่านควรทำการบีบอัด หรือcompress และลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก และการจัดส่งไฟล์ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- mail) หรือการอัพโหลดไว้บนเว็บไซต์จะสามารถทำได้ไวยิ่งขึ้น
10. เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ร่วม: เนื่องจากการนำเสนอต้องมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์ร่วม เช่น เครื่องแอลซีดี หรือโทรทัศน์เพื่อเสนอข้อมูลขยายใหญ่บนจอภาพ ดังนั้น ก่อนการนำเสนอควรทำการทดลองก่อนเพื่อให้ได้ภาพบนจอภาพที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะว่าเมื่อฉายแล้วเสี้ยวซ้ายของสไลด์จะไม่ปรากฏให้เห็นตามหลักของอัตราส่วน 4:3
ที่มา : http://supanida-opal.blogspot.com/2008/06/blog-post_672.html
หมู่ที่ 3: ผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง แตงกวา ตำลึง ยอดแค
หมู่ที่ 4: ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก เงาะ ลำไย ชมพู่ มังคุด
หมู่ที่ 5 น้ำมันพืช (น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน) น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย ครีม
Copyright © 2009 สารอาหาร |Designed by EZwpthemes |BloggerTemplate Converted by BloggerThemes.Net