แนะนำตัว

แนะนำตัว

ชื่อ นางสาววารุณี สิงกันยา

รหัสนิสิต 50010919520

สาขา การบัญชี (AC)

คณะการบัญชีและการจัดการ
ที่อยู่ปัจจุบัน หอพักหญิงสุมลรัตน์

อาหารกับโรคมะเร็ง

อาหารกับโรคมะเร็ง
แม้ว่าในปัจจุบันเราจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็ง แต่จากการค้นคว้าวิจัยและสถิติทางการแพทย์ เราพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็ง ได้แก่
1. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีราสีเขียว - เหลืองขึ้น บ่อยๆ เช่น ถั่วลิสงคั่วป่นที่มีราขึ้น จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
2. ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ เต้านม ต่อมลูกหมาก และมดลูก
3.ผู้ที่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่มีพยาธิใบไม้ตับปนอยู่ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของถุงน้ำดีในตับ
4.ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเค็มจัด ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง - ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือดินประสิว จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่
5.ผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด และกล่องเสียง
6. ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และถ้าทั้งดื่มสุรา และสูบบุหรี่ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอด้วย
7.ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับและถ้าได้รับสารพิษอัลฟาท้อกซินด้วย โอกาสเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือติดเชื้อไวรัส HIV จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
8.ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม รังไข่ และลำไส้ใหญ่ชนิดมีติ่งเนื้อ และผู้ที่ตากแดดจัดจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งส่วนใหญ่มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเพราะฉะนั้นวิธีหนึ่งที่สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ คือ เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ นั่นเเอง แต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. พืชตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอคโคลี่ ฯลฯ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพราะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ
2. อาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. อาหารที่มีเบต้าแคโรทีน และวิตามินเอสูง
ผลไม้สีเขียว-เหลือง ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด เบต้าแคโรทีน สารมหัศจรรย์ชนิดหนึ่งที่ร่างกายนำไปใช้สร้างวิตามินเอ ที่เรียกว่า โปรวิตามินเอ ช่วยบำรุงสุขภาพสายตา สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ สาเหตุของมะเร็งโรคร้ายสารชนิดนี้ มีมากในพืชผักสีแดง เหลือง ส้ม หรือเขียวเข้ม
4. อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร ควบคุมน้ำหนักตัว โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกาย และการลดรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง จะช่วยป้องกันมะเร็งเหล่านี้ได้













อาหารสำหรับวัยต่างๆ

อาหารสำหรับวัยต่างๆ

อาหารการกินในวัยเด็ก

เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมากในวัยเด็ก ทั้งในด้านการเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาการในด้านความสัมพันธ์ของระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตลอดจนในด้านจิตใจและพฤติกรรมในการแสดงออก และปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กได้รับอาหารที่ถูกหลักทางโภชนาการ ได้แก่
1.ครอบครัว ที่คอยดูแลและเป็นตัวอย่างที่ดี
2.ตัวเด็กเอง ที่จะต้องถูกฝึกฝน
3.สิ่งแวดล้อม ทำให้การเอาอย่างคนข้างเคียง
สำหรับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในวัยเด็กนั้น เราทราบดีอยู่แล้วว่าเด็กต้องการสารอาหารครบทั้ง 6 ประเภท เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อาหารที่ให้เด็กควรคิดถึง 3 ประเด็น ด้วยกันคือ
1.อาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ นม ไข่ เนื้อสัตว์ ตลอดจนโปรตีนจากพืช พวกถั่วเขียว ถั่วเหลือง ดูว่าได้รับเพียงพอหรือยัง
2.อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมัน และน้ำมัน ดูว่าเพียงพอหรือยัง อาหารในกลุ่มนี้ พวกน้ำอัดลม หรือขนมหวาน ลูกกวาดต่างๆ ควรจำกัดลง เพราะประโยชน์น้อยมาก และบางทีทำให้มีปัญหาเรื่องฟันผุด้วย
3.อาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ พวก ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีใยอาหารที่มีส่วนทำให้เด็กไม่ท้องผูก
อาหารเด็กวัยเรียน

ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตต้องการอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของบางครอบครัวที่ต้องเร่งรีบในตอนเช้าของแต่ละวัน โดยเฉพาะครอบครัวในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร และครอบครัวรุ่นใหม่ที่พ่อแม่ทำงานทั้งคู่ ไม่มีแม่ครัวหรือคนรับใช้ที่จะหุงหาอาหารในตอนเช้าให้ ดังนั้น ในปัจจุบันภาวะของความเร่งรีบในสังคม อาจจะทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ถ้าเด็กไม่ได้กินอาหารเข้า จะทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน สมองมึน ง่วง ซึม และถ้าเด็กอดอาหารเป็นเวลานานๆ ติดต่อกัน จะทำให้มีผลเสียต่อระบบการย่อยอาหาร และเป็นโรคขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การเลือกอาหารเช้าที่เด็กวัยเรียน ควรได้กินและหาได้ง่ายๆ คือ นมสด 1 กล่อง ข้าวหรือขนมปัง ไข่ อาจจะเป็นไข่ดาว ไข่ลวกหรือไข่เจียว ผลไม้ที่หาได้ง่าย เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ หรือส้ม เท่านี้เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอแล้ว จึงอยากจะให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองได้ตระหนักถึงเด็กๆ ในการที่จะเตรียมอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการในครั้งต่อไปนะคะ

อาหารการกินในวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตในด้านร่างกายอย่างมาก และในวัยนี้เองที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และจิตใจค่อนข้างสูง มีกิจกรรมต่างๆ ค่อนข้างมาก ทั้งในด้านสังคม กีฬาและบันเทิง ความต้องการสารอาหารย่อมมีมากขึ้นเป็นธรรมดา ซึ่งจะต้องคำนึงทั้งปริมาณและคุณภาพให้ถูกหลักโภชนาการ
สำหรับปัจจัยที่สำคัญ มีดังนี้
1.ครอบครัว การปลูกฝังนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ควรเริ่มต้นมาจากที่บ้าน สำหรับวัยรุ่นที่อาจชอบรักสวยรักงาม อาจพยายามจำกัดอาหารลง ซึ่งคนในครอบครัวจะต้องให้คำแนะนำเพื่อไม่ไปจำกัดอาหารที่มีคุณค่าและมีความจำเป็นต่อร่างกาย
2.ตัววัยรุ่นเอง วัยรุ่นจะเริ่มมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปโดยมีความคิดความเห็นเป็นของตัวเองมากขึ้น การให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ มีความจำเป็นเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของการรับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะมีผลต่อตัววัยรุ่นเองโดยตรง
3.สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา อิทธิพลจากเพื่อนฝูงมีส่วนที่ทำให้วัยรุ่นเอาอย่างกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร ตลอดจนการบริโภคสารอันตราย เช่น เหล้า บุหรี่ และยาเสพติด การดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดจนการสนับสนุนให้วัยรุ่นเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ จะมีผลทางอ้อมทำให้นิสัยที่ดีในการบริโภคอาหารไม่ถูกเบี่ยงเบนไป
ความต้องการอาหารที่ให้โปรตีนพลังงาน และวิตามินต้องเพียงพอสำหรับวัยรุ่น วิตามินต้องเหมาะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีเกลือแร่ประเภท แคลเซี่ยม และเหล็ก ต้องเพียงพอกับวัยรุ่นในวัยต่างๆ

อาหารการกินในผู้ใหญ่


ผู้ใหญ่ถึงแม้ว่าจะหยุดเจริญเติบโตแล้ว แต่ร่างกายก็ต้องการสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปทำนุบำรุงอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ให้คงสภาพการทำงานที่มีสมรรถภาพต่อไป และปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้วัยผู้ใหญ่ยังคงแข็งแรง ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ซึ่งในวัยนี้ เนื่องจากเป็นวัยทำงานมีเงินทองที่จะจับจ่ายได้มากขึ้น โดยมากจะทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกินเป็นส่วนใหญ่ เพราะถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของคนบางกลุ่ม ที่คิดว่าอุสส่าห์หาเงินทองแทบแย่ จึงต้องรับประทานอาหารที่มีราคาแพง และส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยไขมันในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นสิ่งที่เป็นหัวใจในการควบคุมเรื่องอาหารการกินในผู้ใหญ่ ก็คือการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และท่านสามารถคำนวณได้จากสูตร ดัชนีความหนาของร่างกายซึ่งมีรายละเอียดในหัวข้อเรื่องการควบคุมน้ำหนักตัว สำหรับคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ถูกต้องในผู้ใหญ่ ขอแนะนำดังนี้
1. ให้บริโภคอาหารหลายชนิด เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการได้ครบถ้วน
2. บริโภคอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่มีไขมันมากเกินไป
4. บริโภคอาหารที่มีปริมาณของแป้ง และกากใยให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ปรุงด้วยปริมาณน้ำตาลจำนวนมาก
6. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารเค็มมากเกินไป
7. ถ้าท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ขอให้ท่านดื่มแต่พอประมาณ

อาหารการกินในสตรีตั้งครรภ์


สตรีตั้งครรภ์นอกจากต้องมีสารอาหารทั้ง 6 ประเภท ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ ในอาหารที่รับประทานเป็นประจำให้ครบทุกประเภทแล้ว สตรีตั้งครรภ์ต้องทราบอีกว่าควรที่จะเพิ่มสารอาหารประเภทใด จึงจะทำให้เด็กในครรภ์ได้รับประโยชน์สูงสุดดังนี้
1.อาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ไข่ นม เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์และถั่วเมล็ดแห้ง สตรีตั้งครรภ์จึงควรรับประทานไข่วันละ 1-2 ฟอง นมสดวันละ 1-2 แก้ว เนื้อสัตว์บกและสัตว์ทะเล ซึ่งจะได้ธาตุไอโอดีนด้วย อาหารประเภทเต้าหู้และนมถั่วเหลือง ก็มีประโยชน์ในการให้โปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์เช่นกัน
2.อาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ข้าว แป้ง น้ำตาล ไขมันและน้ำมัน สตรีตั้งครรภ์ควรรับประทานข้าวพอประมาณร่วมกับอาหารที่ให้โปรตีนดังกล่าวแล้ว ควรใช้น้ำมันพืชซึ่งมีกรดไขมันจำเป็น ในการประกอบอาหาร เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด สตรีตั้งครรภ์ควรจะท้องรับประทานอาหารที่จะให้พลังงานมากขึ้นวันละประมาณ 300 แคลลอรี่
3.อาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ สตรีตั้งครรภ์ต้องการอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่เพิ่มขึ้น ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ทุกๆวัน เช่นส้ม มะละกอ กล้วย สลับกันไป จะได้ใยอาหารเพื่อประโยชน์ในการขับถ่ายอุจจาระด้วย เกลือแร่ที่สำคัญควรรับประทานเพิ่มได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และไอโอดีน ส่วนวิตามินได้แก่กลุ่มที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี เค และที่ละลายในน้ำ ได้แก่วิตามินบี และวิตามินซี

อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ


องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดว่าผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ เท่ากับหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซี่งในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากว่า 2.5 ล้านคน การดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายจิตใจโดยพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ และที่สำคัญก็คือ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกายก็มีส่วนสำคัญยิ่งสำหรับ สุขภาพในผู้สูงอายุ
ความเสื่อมของร่างกายไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ แต่เราสามารถชะลอความแก่ได้ โดยโภชนาการที่ดีและการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน โภชนาการที่ดีในผู้สูงอายุจะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและลดปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เช่น โรคติดเชื้อในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคผนังลำไส้โป่งพอง เป็นต้น
นอกจากนี้สังขารที่เสื่อมโทรมตามวัยทำให้กิจกรรมในการใช้พลังงานมีน้อยลง มีปัญหาการเคี้ยวรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย แต่แป้งและไขมันสูง ระบบทางเดินอาหารก็ทำงานน้อยลง น้ำย่อยลดลง การดูดซึมลดลง การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงทำให้ท้องผูก เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้ท้องอืดเป็นเหตุให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ในบางท่านอาจรับประทานยา ซี่งในยาบางชนิดอาจมีผลต่อการดูดซึมสารอาหารหลายๆตัว ปัญหาเหล่านี้มีผลทำให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นอาหารที่ผู้สูงอายุรับประทานควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ให้พลังงานเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้สารอาหารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่สูง สารอาหารเหล่านี้ได้มาจากหมวดอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนในอาหาร เช่น ข้าวซ้อมมือ หัวโจ๊ก ขนมปัง ที่ทำมาจากแป้ง ไม่ได้ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ต่างๆหมวด ผัก ผลไม้ หมวดเนื้อสัตว์ ไข่และหมวด นม หรือผลิตภัณฑ์นมเป็นต้น
ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูง ควรลดการรับประทานเกลือโซเดียม เพราะการที่ต่อมรับรสทำงานน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่เค็มขึ้นโดยไม่รู้ตัว อาหารที่มีเกลือสูงควรหลีกเลี่ยงได้แก่ อาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ไส้กรอก เป็นต้น นอกจากนี้ควรใช้ซอสปรุงรส เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เต้าเจี้ยว พอประมาณ ผู้สูงอายุจะมีการหลั่งของน้ำย่อย และน้ำลายน้อยลง อาหารที่รับประทานจึงควรเป็นอาหารอ่อนที่เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และย่อยง่าย โดยเฉพาะในรายที่มีฟันหรือใส่ฟันปลอม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการกลืน อาจต้องรับประทานอาหารเหลว ในการปรุงอาหารเนื้อสัตว์ควรสับหรือบด หรือนำมาตุ๋นจนเปื่อย หรืออาจนำมาปั่นใส่น้ำซุปในกรณีที่เคี้ยวไม่ได้

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ นอกจากดูแลเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามกำลังที่ทำได้ เช่น การเดินจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ลดปํญหาไขมันในเส้นเลือด โดยเพิ่มปริมาณ เอช ดี แอล(ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่ป้องกันโรคหัวใจ)ทำให้กระดูกแข็งแรง และช่วยให้ลำไส้เคลื่อนตัวมากขึ้น ลดปัญหาท้องผูก อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย
การรับประทานให้หลากหลาย ครบทุกหมวดหมู่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย โภชนาการที่ดีร่วมกับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียด รวมทั้งหลีกเลี่ยง การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ จะช่วยให้ผู้สุงอายุมีสุขภาพแข็งแรง และมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุขอย่างแท้จริง ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึงผู้ที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบัน เป็นปีที่จะเกษียณอายุของทางราชการ แต่ในอนาคตจะมีคนอายุ 60 ปี แต่ยังแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต ความคิดความอ่าน การตัดสินใจยังดีอยู่ จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุน่าที่จะขยับไปอยู่ที่วัย 65 ปีขึ้นไป
สำหรับปัญหาเรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการในวัยนี้ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณโดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมากๆ จะเป็นปัญหาได้
ข้อแนะนำในการดูแลเรื่องอาหารในผู้สูงอายุมีดังนี้
1.โปรตีนคุณภาพ ควรให้รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง และดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ควรลดน้อยลง เพราะส่วนใหญ่จะติดมันมากับเนื้อสัตว์ด้วย
2.ไขมัน ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก
3.คาร์โบไฮเดรต คนสูงอายุควรรับประทานข้าวให้ลดน้อยลง และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก
4.ใยอาหาร คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้
5.น้ำดื่ม คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้ ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนๆ เกือบขาว แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำชา กาแฟควรจะงดเว้นเสีย ถ้าระบบย่อยอาหารในคนสูงอายุไม่ดี ท่านควรแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ แล้วรับประทานทีละน้อย แต่หลายมื้อจะดีกว่า แต่อาหารหลักควรเป็นมื้อเดียว


ที่มา :
http://61.19.145.8/student/web42106/502/502-0730/อาหารสำหรับวัยต่างๆ.htm

อาหารบำรุงสมอง

อาหารบำรุงสมอง

สมองเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อระบบร่างกายมาก เพราะเป็นส่วนที่จดจำในเรื่องต่างๆ คิดและสั่งการอยู่ตลอดเวลา เมื่อสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสั่งการมายังส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ทำกิจกรรมก็จะดีตามไปด้วย แต่ถ้าสมองทำงานหย่อนประสิทธิภาพลง การทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ ก็จะด้อยลงไปด้วย เมื่อสมองได้รับการบำรุงด้วนสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่ ความจำก็จะไม่เสื่อมไปตามวัย ดังนั้น เราจึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง อาหารที่ช่วยให้สมองมีความจำดีนั้น นอกจากอาหารหลัก 5 หมู่แล้วต้องเป็นอาหารที่หลากหลายไม่ซ้ำซาก ต้องเลือกอาหารที่มีโคลีน และแมงกานีสมากด้วย เพราะสารอาหารทั้งสองจะช่วยบำรุงสมอง และระบบประสาท แม้ว่าร่างกายต้องการสารอาหารเหล่านี้ไม่มากนักก็ตาม อย่างแมงกานีสร่างกายต้องการเพียงวันละ 3.5 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เราจะละเลยไม่รับประทานไม่ได้เพราะว่ามีส่วนสำคัญกับส่วนสมองโดยตรง โคลีนมีมากในอาหารพวกข้าวกล้อง ข้าวโพด กล้วย ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียวต่างๆ โดยเฉพาะข้าวโพด ส่วนที่มีโคลีนมากคือส่วนจมูกข้าวโพด เพราะฉะนั้นเมื่อนำข้าวโพดทำอาหารต้องฝานให้ลึกจนติดซัง เพราะจมูกข้าวโพดจะได้ติดมาด้วย

ข้าวโพดทำอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น ข้าวโพดเปียก ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดคลุกน้ำตาล ทอดมันข้าวโพด งบข้าวโพด ซุปข้าวโพด ข้าวโพดผัดกะเพรา แกงเลียงข้าวโพด ถ้าร่างกายได้รับโคลีนไม่เพียงพอ จิตใจจะหดหู่ ไม่มีสมาธิ หลงลืม และเศร้าหมอง

สารอาหารที่ช่วยให้มีความจำดีอีกตัวหนึ่งคือ แมงกานีส เป็นเกลือแร่ที่ควบคุมสุขภาพของสมอง ระบบประสาท อาหารที่มีแมงกานีสมาก เช่น อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม เมล็ดทานตะวัน เนื้อหมู เนื้อไก่ ตับหมู ส่วนผลไม้ก็อย่างเช่น แอปเปิล มะม่วง ซึ่งนอกจากกินดิบจิ้มกับน้ำปลาหวาน กินเป็นมะม่วงสุกกันข้าวเหนียวมูน ทำไอศกรีมมะม่วง มะม่วงแช่อิ่ม แม้แต่อาหารคาวก็นำมะม่วงมาทำได้ อย่างยำมะม่วง หรือแกงคั่วหอยแมลงภู่มะม่วงแก้วดิบ

10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี




10 วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี


1. กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเผาผลาญพลังงานให้ดีขึ้น ทำให้คุณกินอาหารในมื้ออื่นๆ น้อยลง

2. เปลี่ยนน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร ยอมจ่ายแพงสักนิดใช้น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน ปรุงอาหารแทนน้ำมันแบบเดิมที่เคยใช้ เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

3. ดื่มน้ำให้มากขึ้น คนเราควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรเป็นอย่างน้อย (ยกเว้นในรายที่ไตทำงานผิดปกติ) เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ฟื้นฟูระบบขับถ่าย รักษาระดับความเข้มข้นของเลือด จะทำให้สดชื่นตลอดวันเลยทีเดียว

4. เสริมสร้างแคลเซียมให้กับกระดูก ด้วยการดื่มนม กินปลาตัวเล็กทั้งตัวทั้งก้าง เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผักใบเขียว เพราะแคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

5. บอกลาขนมและของกินจุบจิบ ตัดของโปรดประเภทโดนัท คุกกี้ เค้กหน้าครีมหนานุ่ม ออกจากชีวิตบ้าง แล้วหันมากินผลไม้เป็นของว่างแทน วิตามิน และกากใยในผลไม้ มีประโยชน์กว่าไขมัน และน้ำตาลจากขนมหวานเป็นไหนๆ

6. สร้างความคุ้นเคยกับการกินธัญพืชและข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน ข้าวฟ่างและลูกเดือย รวมทั้งข้าวกล้องที่เคยคิดว่าเป็นอาหารนก ได้มีการศึกษาและค้นคว้าแล้ว พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมน้ำตาลในเลือดให้สมดุล

7. จัดน้ำชาให้ตัวเอง ทั้งชาดำ ชาเขียว ชาอู่ล่ง หรือเอิร์ลเกรย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ การดื่มชาวันละ 1 ถึง 3 แก้ว ช่วยลดอัตราเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 30%

8. กินให้ครบทุกสิ่งที่ธรรมชาติมี คุณต้องพยายามรับประทานผักผลไม้ต่างๆ ให้หลากสี เป็นต้นว่า สีแดงมะเขือเทศ สีม่วงองุ่น สีเขียวบล็อกเคอรี สีส้มแครอท อย่ายึดติดอยู่กับการกินอะไรเพียงอย่างเดียว เพราะพืชต่างสีกัน มีสารอาหารต่างชนิดกัน แถมยังเป็นการเพิ่มสีสันการกินให้กับคุณด้วย

9. เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนรักปลา การกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ได้ทั้งความฉลาดและแข็งแรง เพราะปลามีกรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน ที่ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และบำรุงเซลล์สมอง ทั้งยังมีไขมันน้อย อร่อย ย่อยง่าย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการหุ่นเพรียวลมเป็นที่สุด

10. กินถั่วให้เป็นนิสัย ทำให้ถั่วเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่คุณต้องกินทุกวัน วันละสัก 2 ช้อน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว หรือว่าของว่างก็ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสำคัญๆ หลายชนิด ต่างพากันไปชุมนุมอยู่ในถั่วเหล่านี้ ควรกินถั่วอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรกินครั้งละมากๆ เพราะมีแคลอรี่สูง




สารอาหารที่จำเป็น


สารอาหารที่จำเป็น

วิตามินดี มีการวิจัยว่าการขาดวิตามินดีเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกเปราะ ซึ่งจะทำให้หลังค่อมในผู้สูงอายุ กระดูกแตก เปราะ ดังนั้น นมเป็นแหล่งวิตามินดีที่ดีที่สุด

ธาตุเหล็ก ผู้หญิงมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีการเสียเลือดทุกเดือน จากการมีรอบเดือน ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก และหากได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ท่านจะมีอาการเหนื่อยง่าย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจาง อาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อแดง ปลา ธัญพืช ผักขม พืชกระกูลถั่ว และผักต่าง ๆ แต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชที่มีวิตามินซีสูง เช่น พริกไทย มะเขือเทศ พืชจำพวกมะนาว กะหล่ำปลี และมันฝรั่ง

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุสำคัญที่ทำให้กระดูกแข็งแรง ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปจะสูญเสียมวลกระดูก 1% ทุกปี ซึ่งนำไปสูงสาเหตุของการเป็นโรคกระดูกเปราะ แต่หากท่านรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และ 1,500 มิลลิกรัมหลังวัยหมดประจำเดือน ก็จะช่วยทดแทนมวลกระดูกที่เสียไปได้

นม เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด นมพร่องมันเนย 1 แก้ว ให้แคลเซียม 300 มิลลิกรัม นมเปรี้ยวพร่องมันเนย ปลาซาดีน ปลาแซลมอนติดกระดูกอ่อนก็เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

ผัก ผลไม้ และธัญพืช อาหารเพื่อสุขภาพกลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งเพื่อป้องกัน และต่อสู้โรคร้าย ทุกวันนี้หลายท่านมีมุมมองในการรับประทานผักโดยคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ผักมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่รับประทานกันแพร่หลาย ผักพื้นบ้านที่เราไม่คุ้นเคย ขอแนะนำผักพื้นบ้านที่หารับประทานได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการป้องกัน และรักษาโรค

อาหาร 5 หมู่



อาหาร 5 หมู่




หมู่ที่ 1: เนื้อสัตว์ต่างๆ (เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อไก่ กุ้ง หอย ปู ปลา)ไข่ ถั่วเมล็ด


หมูที่ 2: ข้าว (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี) น้ำตาล เผือก มัน



หมู่ที่ 3: ผักใบเขียว และพืชผักอื่นๆ เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง แตงกวา ตำลึง ยอดแค




หมู่ที่ 4: ผลไม้ต่างๆ เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก เงาะ ลำไย ชมพู่ มังคุด


หมู่ที่ 5 น้ำมันพืช (น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน) น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย ครีม

ที่มา : http://home.kku.ac.th/peaoun/eat-nutrition.htm

ประเภทของสารอาหาร

ประเภทของสารอาหาร



1.สารอาหารคาร์โบไฮเดรท ทำหน้าที่เป็นสารตัวแรกที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้พลังงานแก่ร่างกาย หากร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะสลายสารไขมันมาใช้เป็นพลังงาน หากไขมันไม่พอจะสลายสารโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน แต่การที่ปฏิกิริยาทางเคมีจะสลายเอาโปรตีนภายในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานได้ก็ต่อเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันอย่างรุ่นแรง ถ้ามีสารนี้มากเกินไป ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน สำหรับอาหารที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรทคืออาหารหมู่ 2

2.สารอาหารโปรตีน มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือกล่าวง่ายๆ คือ เป็นสารตั้งต้นของการเสริมสร้างอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็น เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ เลือด ฮอร์โมน น้ำย่อย สารอาหารโปรตีนจะเป็นตัวทำหน้าที่โดยตรง หรือเมื่อมีบาดแผลร่างกายจะใช้สารโปรตีนซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม หากร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน ร่างกายจะไม่สามารถใช้สารอาหารตัวอื่นๆ เข้ามาทำหน้าที่ทดแทนได้ สารอาหารโปรตีนจึงมีความสำคัญต่อวัยที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงมีครรภ์ ส่วนวัยมีการเจริญเติบโตไปแล้ว ความต้องการโปรตีนของร่างกายจะลดลง แต่ร่างกายยังมีความต้องการเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ อาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนคืออาหารหมู่ 1

3.สารอาหารไขมัน สารอาหารชนิดนี้แม้จะให้พลังงานได้มากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนก็ตาม แต่ไม่ใช่หน้าที่เด่นเฉพาะตัว ร่างกายไม่ได้ใช้สารไขมันเป็นตัวแรกในการนำไปสร้างพลังงาน หน้าที่เด่นของไขมันคือ ทำหน้าที่เป็นพาหะ หรือเคลื่อนย้าย หรือขนส่ง สารที่ละลายในไขมัน ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขนส่งหรือเคลื่อนย้าย วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค ไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับไขมัน วิตามินเหล่านี้ก็จะไม่ถูกขนส่ง ส่งผลให้เกิดโรคขาดวิตามินดังกล่าว นอกจากนี้ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินดังกล่าวในระบบทางเดินอาหาร ไขมันทำให้เรารู้สึกอิ่มได้นาน สารอาหารไขมันจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าสารอาหารตัวอื่นๆ และหากมีมากจะสะสมในอยู่ในร่างกาย อาหารที่ให้สารอาหารไขมันคืออาหารหมู่ 5

4.สารอาหารวิตามิน แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ สารอาหารวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และกลุ่มวิตามินบีรวม ( วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 หรือวิตามินบี 12) ส่วนอีกกลุ่มคือ สารอาหารวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค หน้าที่เด่นเฉพาะของวิตามินคือ ทำหน้าที่ร่วมกับน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ในกระบวนการใช้สารอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
สารอาหารวิตามินแต่ละตัวมีหน้าที่เด่นเฉพาะ เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ภายในเซลล์เกิดการออกซิไดซ์จากอนุมูลอิสระ หรือกล่าวง่ายๆ คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารวิตามินเค จะทำหน้าที่เป็นสารช่วยในการแข็งตัวของเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น ส่วนที่กล่าวว่าสารอาหารวิตามินทำหน้าที่ป้องกันโรคนั้น เป็นผลทางอ้อม ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ดังจะเห็นได้จาก การไม่กินอาหารที่มีวิตามินบี 1 เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งร่างกายเกิดอาการของโรคเหน็บชา หรือในกรณีที่ไม่กินอาหารที่มีวิตามินซีเป็นเวลานาน จนกระทั่งมีเลือดออกตามไรฟัน นั่นคือผลจากการขาดวิตามินซี ดังนั้นควรกินอาหารที่มีสารอาหารวิตามินอย่างเพียงพอต่อความต้องการ จึงจะไม่ปรากฏอาการของโรค ร่างกายมีความสามารถในการสะสมวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ใช้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ หากร่างกายได้รับเกินความต้องการจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากร่างกายได้รับวิตามินมากเกินความต้องการจะเกิดผลเสียเช่นกัน เพราะร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารวิตามินในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย แต่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ถ้าปราศจากสารอาหารวิตามิน ดังนั้นสารอาหารวิตามินจึงมีความสำคัญอีกเช่นกัน อาหารที่ให้สารอาหารวิตามินคืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4

5.สารอาหารเกลือแร่ ลักษณะหน้าที่เด่นเฉพาะของสารอาหารนี้คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเสริม , ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม, และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น เกลือแร่แคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็นสารที่ร่างกายต้องใช้สร้างกระดูกและฟัน เกลือแร่บางตัวทำให้เกิดความสมดุลของความเป็นกรดและด่างภายในร่างกาย บางตัวเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด บางตัวก็มีส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมน สารอาหารเกลือแร่มีอยู่ประมาณ 21 ชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากคือ แคลเซียม ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก , ฟัน , กล้ามเนื้อ , และในระบบเลือด เกลือแร่ประเภทอื่นที่ร่างกายต้องการนอกเหนือจากแคลเซียม ได้แก่ โซเดียม , โพแทสเซียม , ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม , คลอไรท์ , เหล็ก , ไอโอดีน , ทองแดง , สังกะสี , ฟลูออไรท์ เป็นต้น แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน ถ้าขาดก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดเกลือแร่ไม่ได้ อาหารที่ให้สารอาหารเกลือแร่คืออาหารหมู่ 3 และหมู่ 4

6. สารอาหารน้ำ น้ำแตกต่างจากสารอาหารตัวอื่นคือ น้ำเป็นทั้งสารอาหารและอาหาร น้ำทำหน้าที่เด่นเฉพาะคือ เป็นตัวทำให้เกิดการละลายและนำสารต่างๆ ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และขณะเดียวกันของเสียบางส่วนในเซลล์ที่สามารถละลายในน้ำได้จะถูกทำละลายและขับออกพร้อมกับปัสสาวะ ในร่างกายมีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ส่วน กระจายอยู่ในส่วนประกอบต่างๆ หากเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 10 ไตจะทำงานผิดปกติ และถ้าสูญเสียน้ำไปประมาณร้อยละ 20 อาจจะทำตายได้เนื่องจากสภาวะขาดน้ำ น้ำจึงเป็นสารอาหารและอาหารที่สำคัญ เราอาจอดอาหารประเภทอื่นๆ ได้เป็นเดือน แต่ขาดน้ำไม่ถึง 2 หรือ 3 วันก็อาจจะเสียชีวิตได้








ที่มา : http://home.kku.ac.th/peaoun/eat-nutrition.htm

สารอาหารคืออะไร

สารอาหารคืออะไร

สารอาหาร คือ “ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ” ร่างกายเราต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิด และเพื่อให้ง่ายอีกเช่นกัน เราจึงจัดเป็นสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6 จำพวก ได้แก่ สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท , โปรตีน , ไขมัน , วิตามิน , เกลือแร่ , และน้ำ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน






ที่มา :http://home.kku.ac.th/peaoun/eat-nutrition.htm